การตรวจ NIPT คืออะไร ? จำเป็นหรือไม่ ? ตรวจอะไรได้บ้าง ?

การตรวจ NIPT คืออะไร ?

การตรวจ NIPT (Non Invasive Prenatal Testing) หรือบางครั้งอาจถูกเรียกว่า NIPS (Non Invasive Prenatal Screening) คือ วิธีการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมของลูกในครรภ์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจาก

  1. มีความแม่นยำสูงมากกว่า 99 %
  2. ไม่เป็นอันตรายต่อแม่และลูก

การตรวจ NIPT มีวิธีและหลักการตรวจอย่างไร ?

  1. เจาะเลือดของคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่แขน ประมาณ 10 cc
  2. นำเลือดแม่ไปตรวจสอบความผิดปกติของโครโมโซมของลูก โดยสามารถตรวจได้จาก cell-free DNA (cfDNA) ของลูกที่ปนอยู่ในเลือดของแม่

การตรวจ NIPT มีความปลอดภัย 100 % ต่อแม่และลูก เพราะไม่มีความเสี่ยงเรื่องน้ำคร่ำรั่วและเข็มแทงโดนลูกเหมือนการเจาะน้ำคร่ำ

การตรวจ NIPT บอกอะไรได้บ้าง ?

การตรวจ NIPT สามารถตรวจโครโมโซมเพื่อตรวจสอบความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ทุกคู่ในร่ายกาย ตั้งแต่คู่ที่ 1-23 อย่างไรก็ตามการตรวจ NIPT ในเชิงการแพทย์มักจะมุ่งเน้นไปที่ 3 กลุ่มอาการดังนี้ที่พบได้บ่อยดังนี้

  1. ดาวน์ซินโดรม (คู่ที่ 21)
  2. เอดเวิร์ดซินโดรม (คู่ที่ 18)
  3. พาทัวซินโดรม (คู่ที่ 13)
  4. ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ เช่น Turner Syndrome (XO), Klinefelter syndrome(XXY), Jacob syndrome(XYY), Triple X syndrome (XXX)

การตรวจ NIPT ยังสามารถระบุเพศของทารกในครรภ์ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์

คุณแม่ท่านใดควรตรวจ NIPT ?

คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่าน เพราะคนท้องทุกคนมีความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรม หรือมีความผิดปกติอื่นๆ ถึงแม้ว่าอายุของคุณแม่จะน้อยกว่า 35 ปี ก็ตาม โดยเฉพาะคุณแม่ที่ครอบครัวมีประวัติพบโครโมโซมผิดปกติและคุณแม่ที่มีประวัติคลอดบุตรที่มีความผิดปกติ

คนท้องทุกคนจำเป็นต้องตรวจ NIPT หรือไม่ ?

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมและความผิดปกติต่างๆด้วยวิธีตรวจ NIPT ไม่ได้ถือเป็นภาคบังคับที่คุณแม่ทุกคนต้องตรวจ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณแม่ว่าต้องการตรวจหรือไม่

แต่โดยทั่วไปแล้วคุณหมอก็จะแนะนำให้ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม เพราะการตรวจและรับทราบถึงสถานการณ์ของลูกเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อที่จะได้วางแผนการตั้งครรภ์ต่อไป

ถ้าไม่ต้องการตรวจ NIPT ก็อาจใช้วิธีการตรวจอื่นที่มีราคาถูกลงมา เช่น การตรวจ Quad Marker Test แต่ความแม่นยำก็จะลดลงจาก 99 % เหลือ 70 % และตรวจเกี่ยวกับอาการดาวน์ซินโดรมได้อย่างเดียว ไม่สามารถระบุเพศของทารกและความผิดปกติอื่นๆได้

ควรตรวจ NIPT ตอนช่วงอายุครรภ์กี่สัปดาห์ ?

สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป และไม่ควรเกิน 16 สัปดาห์

อายุครรภ์หมายเหตุ
< 10 สัปดาห์ไม่สามารถตรวจได้ เพราะ % fetal fraction ของลูก ไม่เพียงพอ
10 – 16 สัปดาห์สามารถตรวจได้ และควรตรวจในช่วงนี้
16 – 20 สัปดาห์สามารถตรวจได้ แต่ควรรีบเข้ารับการตรวจเพราะอายุครรภ์เยอะ
> 20 – 30 สัปดาห์สามารถตรวจได้ กับเฉพาะบางแลปแต่ไม่แนะนำ เพราะอาจเป็นเพียงการตรวจเพื่อทราบเท่านั้น
> 30 สัปดาห์ไม่สามารถตรวจได้

โดยส่วนใหญ่แล้วถ้าอายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ สูติ-นรีแพทย์มักไม่รับยุติการตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่าจะได้รับการวินิจฉัยจากการเจาะน้ำคร่ำว่าทารกมีความผิดปกติ

การตรวจ NIPT มีโอกาสแปลผลผิดพลาดหรือไม่ ?

การตรวจ NIPT เป็นเพียงการตรวจคัดกรองความผิดปติที่มีความแม่นยำสูง 99 % แต่ก็ไม่ใช่การจินิจฉัย เพราะฉะนั้นจึงมีโอกาสที่ผลจะผิดพลาดได้ มีเพียงการเจาะน้ำคร่ำวิธีเดียวที่เป็นการวินิจฉัยได้ 100 % ว่าทารกมีความผิดปกติของโครโมโซมหรือไม่

ตรวจ NIPT แล้วจำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำอีกหรือไม่ ?

ถ้าผลการตรวจ NIPT อ่านเป็นความเสี่ยงต่ำ โดยปกติแล้วคุณหมอก็จะไม่ได้แนะนำให้เจาะน้ำคร่ำต่อ นอกจากว่าตรวจอัลตราซาวด์แล้วเจอความผิดปกติที่ชัดเจนหลังจากการตรวจ NIPT จึงแนะนำเจาะน้ำคร่ำ

ถ้าผลการตรวจ NIPT อ่านเป็นความเสี่ยงสูง คุณหมอจะแนะนำให้ไปเจาะน้ำคร่ำต่อเพื่อเป็นการวินิจฉัย 100 % ว่าทารกมีความผิดปกติหรือไม่

ตรวจ NIPT กับรักษ์นรีคลินิก ราคาเท่าไหร่ ?

ราคาโปรโมชั่นเดือนนี้ ราคาเริ่มต้นที่ 9,500 บาท สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและจองคิวได้ ที่นี่




อ่านข้อมูลเพิ่มเติม: Bumrungrad Hospital

จองคิวออนไลน์

สอบถามโทร. 083-274-0202

Comments

    1. สวัสดีค่ะ โดยปกติจะแจ้งผลภายใน 5-10 วันค่ะ ขึ้นอยู่กับแลปที่คนไข้เลือกตรวจค่ะ

    1. คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่านมีความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรมค่ะ ไม่กว่าจะอายุเยอะหรือน้อย
      อายุน้อยกว่า 35 ก็มีความเสี่ยงค่ะ เพียงแต่ความเสี่ยงจะน้อยกว่าคุณแม่ที่มีอายุมากค่ะ

      ยิ่งคุณแม่มีอายุมากขึ้นความเสี่ยงยิ่งสูงขึ้นค่ะ เพราะฉะนั้นคุณแม่ทุกท่านควรเข้ารับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมค่ะ

    1. มีเงินประกันผลค่ะ วงเงินขึ้นอยู่กับแลปที่คนไข้เลือกค่ะ ในกรณีที่ต้องมีการเบิกจ่ายทางแลปจะเป็นผู้จ่ายให้กับทางคนไข้โดยตรงค่ะ

    1. สวัสดีค่ะ ราคาจะขึ้นอยู่กับแลปที่คนไข้เลือกตรวจค่ะ โดยเริ่มต้นที่ 9,500 บาทค่ะ

  1. หากต้องการเช็คโครโมโซมทุกคู่ในร่างกาย
    มีแพคเกจการตรวจ และรายละเอียดการตรวจอย่างไรบ้างคะ

    1. สวัสดีค่ะ ตรวจทั้งหมด 23 คู่ ราคาเริ่มที่ 12,500 บาทค่ะ เป็นของแลป thai nipt ค่ะ
      รายละเอียดในการตรวจคนไข้สามารถทัก line หรือ facebook เพื่อขอรายละเอียดได้เลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

        1. กรณีที่ 1: ถ้าผลออกว่ามีความเสี่ยงสูง –> คุณแม่ต้องไปเจาะน้ำคร่ำค่ะ
          กรณีที่ 2: ถ้าผลออกว่ามีความเสี่ยงต่ำ แต่คลอดแล้วน้องเป็นดาวน์ซินโดรม –> คุณแม่จะได้รับวงเงินสูงสุดตามที่แต่ละแลปกำหนค่ะ

  2. หากต้องการตรวจคือรู้ความแข็งแรง ความผิดปกติของเด็กทุกอย่างเลยไหมค่ะ ค่าใช้จ่ายอยู่ที่เท่าไหร่

  3. จำเป็นต้องตรวจครบทั้ง 23 คู่เลยไหมครับ หรือแค่ 3 คู่หลักก็เพียงพอแล้วครับ คู่อื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ บ่งบอกถึงอะไรหรือครับ

    1. คนไข้สามารถทัก Line ได้ค่ะ ทางเราจะส่งรายละเอียดเพิ่มเติมให้ค่ะ
      Line: @puc5896i ค่ะ

ส่งความเห็นที่ ณัฐพล ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

คุยกับคุณหมอ